วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หน้าที่ผู้พิพากษาสมทบและแนวทางการคัดเลือก



แนะนำศาลเยาวชนและครอบครัวแบ่งงานออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่
1. ฝ่ายตุลาการ มีผู้พิพากษาประจำ และผู้พิพากษาสมทบ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ การพิจารณาพิพากษา คดีที่อยู่ในเขตอำนาจผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งมีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสม ที่จะปกครองและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนผู้พิพากษาสมทบ คือ บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวงและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยมี ีอำนาจหน้าที่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีเด็กและเยาวชน ในคดีอาญาและคดีครอบครัวกฎหมายอื่นที่ถือเป็นความผิดอาญา ร่วมกับผู้พิพากษาประจำ ซึ่ง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้1. มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปีบริบูรณ์2. มีหรือเคยมีบุตรมาแล้ว หรือเคยทำงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์หรืออบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี3. ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัว และหน้าที่ ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง4. มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายตุลาการสามัญได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ เว้นแต่ในเรื่องพื้นความรู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งขณะนี้กำหนดพื้นความรู้อย่างน้อยชั้น ม.6 หรือ ม.ศ.3 (ตามหลักสูตรเดิม) นอกจากนี้แล้วบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบ ต้องมิใช่ข้าราชการประจำ ข้าราชการเมือง สมาชิกรัฐสภา หรือทนายความ ผู้พิพากษาสมทบดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี แต่จะทราบพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกก็ได้
2. ฝ่ายธุรการ มีผู้อำนวยการศาลและข้าราชการธุรการของศาล ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านธุรการของศาลทั่วไปขอบเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร- สำหรับศาลเยาวชนและครอบครัวในส่วนภูมิภาคนั้นมีเขตอำนาจตลอดท้องที่ของจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัว- แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดมีเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลที่ตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวนั้น


ม.26 ผู้พิพากษาสมทบจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการ หรือเรียกย่อว่า ก.ต.
คัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องมีคุณสมบัติ

(1) มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปีบริบูรณ์

(2) มีหรือเคยมีบุตรมาแล้ว หรือเคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หรือการกอบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

(3) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

(4) มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการธุรการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่า
ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

(5) ไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา หรือทนายความ

(6) มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว



ผู้พิพากษาสมทบ ดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี

ผู้พิพากษาสมทบ เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตาม ประมวลกฎหมายอาญา

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

โปรดเกล้าเป็นผู้พิพากษาสมทบ ศาลจังหวัดนครนายก ปี 2548


โปรดเกล้าเป็นผู้พิพากษาสมทบ ศาลจังหวัดนครนายก ปี 2548
ถ่ายรูปกับอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2

กำลังใจให้แก่คณะผู้พิพากษาสมทบที่ทำงานทั่วประเทศ



กำลังใจให้แก่คณะผู้พิพากษาสมทบที่ทำงานทั่วประเทศ

พิธีโปรดเกล้าแต่งเป็นผู้พิพากษาสมทบปี 2548 ณ.ศาลจังหวัดนครนายก

ภาพหมู่ผู้พิพากษาจังหวัดและผู้พิพากษาสมทบ ราชการยุติธรรม ศาลจังหวัดนครนายก

                                         ภาพถ่ายคู่กับหัวหน้าศาลจังหวัดนครนายก

                            ภาพผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัดนครนายก ถ่ายคู่กับท่านอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2

หัวหน้าศาลจังหวัดนครนายก และประธานผู้พิพากษาสมทบ
                  บุตรและภรรยา ครอบครัว"รวีภัคพงศ์" กับการทำงานศาลเยาวชนและครอบครัว
                                ภาพได้การโปรดเกล้าเป็นผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัดนครนายก
                            มอบหนังสือโปรดเกล้าจาก...อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2


พิธีโปรดเกล้าผู้พิพากษาสมทบปี 2548
ณ.ศาลจังหวัดนครนายก





ผู้พิพากษาสมทบ
ปฏิญาณตนก่อนรับตำแหน่ง
ณ.ศาลจังหวัดนครนายก










ตัวอย่าง
Read News : โปรดกระหม่อมแต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบ
ของศาลและจะได้มีพิธีปฎิญาณตนก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 เนื่องจากผู้พิพากษาสมทบทั้ง 39 คน มีทั้งผู้พิพากษาสมทบที่เคยดำรงตำแหน่งแล้ว ...www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=12876&lyo=1 - 27k -





พระราชบัญญัติ เครื่องแบบผู้พิพากษาสมทบ พ.ศ. 2523 : ห้องสมุดบ้านจอมยุทธ
poem poetry thai baanjomyut picture story freeemail ecard webboard.www.baanjomyut.com/library/law/72.html - 7k -





ยันระบบคัดผู้พิพากษาสมทบแน่นปึ้ก

http://news.sanook.com/crime/crime_169917.php

ผู้พิพากษาสมทบปฏิญาณตนก่อนรับตำแหน่งศาลเยาวชนและครอบครัว

ผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัด.............แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
ปฎิญาณตนก่อนรับตำแหน่งภายหลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง
ภายหลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบ ศาลจังหวัด..........แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบ ........ คนในจังหวัด..........
ได้ร่วมปฎิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว วันนี้..................
ที่ห้อง................. . จังหวัด....................
" โดยร่วมกันปฏิญาณตนว่า จะปฎิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ปราศจากอคติทั้งปวง และจักรักษาไว้ซึ่งความลับในราชการโดยเคร่งครัด "
ทั้งนี้ในพิธีปฏิญาณตนของผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัด.........แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ก่อนรับตำแหน่ง เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 26 วรรคท้าย ซึ่งกำหนดว่าผู้พิพากษาสมทบจะต้องปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลก่อนเข้ารับตำแหน่ง สำหรับพิธีในวันนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัด......... ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล อัยการ และข้าราชการระดับสูงของจังหวัดร่วมเป็นสักขีพยาน จำนวนมาก ท่ามกลางความยินดีของญาติมิตร สมาชิกครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน
******************************

-->
ผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัด..........แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
ปฎิญาณตนก่อนรับตำแหน่งภายหลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งภายหลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบ ศาลจังหวัด...........แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบ ....... คนในจังหวัด...............
ได้ร่วมปฎิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว วันนี้................ ที่................... จังหวัด............. โดยร่วมกันปฏิญาณตนว่า จะปฎิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ปราศจากอคติทั้งปวง และจักรักษาไว้ซึ่งความลับในราชการโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ในพิธีปฏิญาณตนของผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัด..........แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ก่อนรับตำแหน่ง เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 26 วรรคท้าย ซึ่งกำหนดว่าผู้พิพากษาสมทบจะต้องปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลก่อนเข้ารับตำแหน่ง สำหรับพิธีในวันนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัด.............. ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล อัยการ และข้าราชการระดับสูงของจังหวัดร่วมเป็นสักขีพยาน จำนวนมาก ท่ามกลางความยินดีของญาติมิตร สมาชิกครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน

การประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการที่ผู้พิพากษาสมทบจะต้องถือปฏิบัติ

การประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการที่ผู้พิพากษาสมทบจะต้องถือปฏิบัติ
การประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการที่ผู้พิพากษาสมทบจะต้องถือปฏิบัติ และใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่จะพึงใช้บังคับได้อุดมการณ์ของผู้พิพากษา (ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษาสมทบ)
ข้อ 1 หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษาสมทบคือ การประสานความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมายและนิติประเพณี ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ

ข้อ 2 ผู้พิพากษาพึงตรวจสำนวนความและตระเตรียมการดำเนินกระบวนการพิจารณาไว้ให้พร้อม ออกนั่งพิจารณาตรงตามเวลาและไม่เลื่อนการพิจารณาโดยความจำเป็น

ข้อ 3 ในการนั่งพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะต้องวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ทั้งพึงสำรวมตนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ แต่งกายเรียบร้อย ใช้วาจาสุภาพ ฟังความจากคู่ความและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างตั้งใจ ให้ความเสมอภาค และมีเมตตาธรรม

ข้อ 4 ผู้พิพากษาจักต้องพิจารณาคดีโดยไตร่ตรอง สุขุม เรียบร้อย และชักช้า พึงตัดการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว

ข้อ 5 ผู้พิพากษาจะต้องควบคุมการดำเนินกระบวนการพิจารณาในศาลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งจักต้องมิให้ผู้ใดประพฤติตนไม่สมควรในศาล

ข้อ 6 ผู้พิพากษาจะต้องละเว้นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในคดีที่อาจกระทบกระเทือนต่อบุคคลใดไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นแก่คู่ความ หรือ บุคคลภายนอกเกี่ยวกับคดีที่อยู่ในการพิจารณา หรือกำลังจะขึ้นสู่ศาล แต่ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจแถลงให้ประชาชนเข้าใจถึงวิธีพิจารณาความของศาลเมื่อมีเหตุผลสมควร

ข้อ 7 การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันในการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีของศาลจะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้พิพากษาตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาคขึ้นไปเป็นผู้อนุญาตเฉพาะกรณีจำเป็นอย่างยิ่ง แต่พึงระมัดระวังมิให้เป็นที่เสื่อมเสียหรือกระทบกระเทือนต่อการพิจารณาคดี คู่ความ พยานหรือบุคคลอื่น

ข้อ 8 การเปรียบเทียบหรือไกล่เกลี่ยคดีจักต้องกระทำในศาล ผู้พิพากษาพึงชี้แจงให้คู่ความทุกฝ่ายตระหนักถึงผลดีผลเสียในการดำเนินคดีต่อไป ทั้งนี้ จักต้องไม่ให้คำมั่น หรือบีบบังคับให้คู่ความฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอใด ๆ หรือให้จำเลยรับสารภาพโดยไมสมัครใจ และจักต้องไม่ทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระแวงว่าผู้พิพากษาฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

ข้อ 9 ผู้พิพากษาพึงระลึกว่าการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ และการซักถามพยานความเป็นหน้าที่ของคู่ความและทนายความของแต่ละฝ่ายที่จะกระทำ ผู้พิพากษาพึงเรียกพยานหลักฐานหรือซักถามพยานด้วยตนเองก็ต่อเมื่อจำเป็นเพื่อประโยชน์ของความยุติธรรมหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ศาลเป็นผู้กระทำเอง

ข้อ 10 การบันทึกคำเบิกความผู้พิพากษาจะต้องบันทึกเฉพาะข้อความในประเด็นข้อพิพาทหรือเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท และต้องได้สาระถูกต้องครบถ้วนตามคำเบิกความ

ข้อ 11 ในการปรึกษาคดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจักต้องตระเตรียมคดีนั้นล่วงหน้าอย่างถี่ถ้วนและจักต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อองค์คณะอย่างถูกต้องครบถ้วน ผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะจักต้องร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและเหตุผลประกอบเสมือนหนึ่งตนเป็นเจ้าของสำนวนคดีเรื่องนั้นเอง ผู้พิพากษาที่ร่วมกันพิจารณาคดีพึงเคารพในความคิดเห็น และเหตุผลของกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ถูกต้องและเที่ยงธรรม

ข้อ 12 เมื่อจะพิพากษาหรือมีคำสั่งใดในคดีเรื่องใด ผู้พิพากษาจักต้องละวางอคติทั้งปวงเกี่ยวกับคู่ความหรือคดีความเรื่องนั้น ทั้งจักต้องวินิจฉัยโดยไม้ชักช้าและไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด คำพิพากษาและคำสั่ง จักต้องมีคำวินิจฉัยที่ตรงตามประเด็นแห่งคดีให้เหตุผลแจ้งชัดและสามารถปฏิบัติตามนั้นได้ การเรียงคำพิพากษาและคำสั่งพึงใช้ภาษาเขียนที่ดี ให้ถ้อยคำในกฎหมายใช้โวหารที่รัดกุมเข้าใจง่ายและถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถานข้อความอื่นใดอันไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยตรง หรือไม่ทำให้การวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวชัดแจ้งขึ้น ไม่พึงปรากฏอยู่ในคำพิพากษาหรือคำสั่ง

ข้อ 13 ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้พิพากษาจักต้องควบคุมให้การออกกฎหมายหรือบังคับ ตรงตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง และจักต้องออกโดยพลัน

ข้อ 14 ผู้พิพากษาพึงถอนตัวจากการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อมีเหตุที่ตนอาจถูกคัดค้านได้ตามกฎหมายหรือเมื่อมีเหตุประการอื่นที่เกี่ยวกับตัวผู้พิพากษาอันอาจให้การพิจารณาพิพากษาในคดีนั้น ๆ เสียความยุติธรรม และจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการจูงใจให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีนั้นในภายหลังในประการที่อาจทำให้เสียความยุติธรรมได้ข้อควรปฏิบัติของพิพากษาสมทบ

รวบรวมโดย ศาสตราจารย์เริงธรรม ลัดพลี

คุณสมบัติพิเศษสำหรับผู้ที่มาเป็นผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวมีว่า “การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นผู้มีอัธยาศัย และความประพฤติเหมาะสมที่จะปกครอง และอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชน และเป็นผู้มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว” ความสำคัญของศาลเยาชนและครอบครัวดังกล่าว ผู้พิพากษาสมทบสำหรับผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเป็นองค์คณะร่วมพิจารณาพิพากษาร่วมกับผู้พิพากษา จึงควรต้องสำนึกตระหนักถึงหน้าที่สิทธิของตน ทั้งถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการตุลาการโดยอนุโลม ผู้พิพากษาสมทบชาย แต่งกายชุดปฏิบัติข้าราชการ ชุดสากลนิยม หรือเสื้อชุดไทย หรือชุดปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นหมู่คณะ เสื้อนอกคลุม ตามแบบละศาลที่กำหนด หรือชุดงานพิธี เครื่องแบบปกติขาวตามกำหนดการ ผู้พิพากษาสมทบหญิง แต่งการชุดปฏิบัติข้าราการ เสื้อเชิ้ตขาว ประกอบเสื้อนอกคลุม ฯลฯ กระโปรงสีกรมท่า หรือสีดำ หรือชุดปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นหมู่คณะ ตามแบบละศาลที่กำหนด หรือชุดงานพิธี เครื่องแบบปกติขาวตามกำหนดการ การปฏิบัติราชการ ให้ถือตามหนังสือเชิญ และการลงนามในบัญชีลงเวลาปฏิบัติราชการซึ่งต้องจรวจสอบตรงกับบัญชีนัดหมายและตรงต่อเวลา โดยเริ่มแต่เวรปกติจนกว่าจะเสร็จสิ้นคดีในวันนั้น แจ้งผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเพื่อแสดงว่าได้มาปฏิบัติหน้าที่แล้ว เพื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะมอบสำนวนและรายงานของสถานพินิจให้อ่าน หรือปรึกษาคดีตามที่นัดมา ผู้พิพากษาสมทบจะต้องอ่านรายงานของสถานพินิจเกี่ยวกับคดีก่อนนั่งพิจารณา รายงานของสถานพินิจจะบรรจุอยู่ในซองแนบติดมากับสำนวนและเสนอไว้ที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน เนื่องจากรายงานมีเพียงฉบับเดียวแต่ต้องเวียนกันอ่านระหว่างผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบ ดังนั้นเมื่อผู้พิพากษาสมทบอ่านเสร็จแล้วต้องรีบนำไปคืนผู้พิพากษาทันที เพื่อผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบท่านอื่นจะได้อ่านได้ต่อไป อ่านเสร็จแล้วอย่าได้วางทิ้งไว้เป็นอันขาด ถ้าผู้พิพากษาสมทบมีความข้องใจสงสัยรายงานตอนหนึ่งตอนใดให้ปรึกษาเรียนถามเจ้าของสำนวนเพื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนอาจเรียกเจ้าหน้าที่ที่จัดทำรายงานมาสอบถามรายละเอียดให้ การอ่านรายงานคดีอาญา ควรตั้งข้อสังเกตในการพิจารณาเด็กหรือเยาวชนที่เป็นจำเลยและการอบรมในเรื่องอายุ ประวัติ ความประพฤติ การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิตนิสัย อาชีพและฐานะของจำเลย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลยและของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษาหรือให้ทำการงานรวมทั้งสถานภาพของผู้เสียหายด้วย ส่วนคดีแพ่งเกี่ยวกับครอบครัว ก็ดูรายงานเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ เป็นเรื่อง ๆ ไป ทั้งนี้ผู้พิพากษาสมทบควรตรวจดูคำฟ้อง คำให้การ และประเด็นข้อพิพากษาในคดีนั้นก่อน รายงานนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องทราบ เพื่อการซักถาม อบรม พิจารณาพิพากาต่อไป ซึ่งถ้าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ก็อาจมีความเห็นต่างไปจากที่ปรากฏในรายงานได้ การนั่งพิจารณา ให้ตามผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนขึ้นนั่งพิจารณาในห้องพิจารณาหรือบนบัลลังก์แต่บางทีผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนต้องนั่งพิจารณาต่อเนื่องหลายคดี ผู้พิพากษาสมทบก็ขึ้นบัลลังก์ไปสมทบกับผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนตามที่เจ้าหน้าที่บัลลังก์มาเชิญ เมื่ออกนั่งพิจารณานั้น ผู้พิพากษาสมทบเป็นตุลาการเต็มภาคภูมิ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพ อนาคต และทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นคู่ความที่ปรากฏต่อหน้า จึงควรต้องมีข้อซักถามอบรมและสงเคราะห์ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในทางคดี ผู้พิพากษาสมทบจะนั่งพิจารณาโดยสง่าผ่าเผยและสุภาพ ใช้วาจานุ่มนวล ชัดเจน ฟังง่าย และเป็นมิตรทำให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นเหมือนเป็นเรื่องสงเคราะห์กันในครอบครัว ยิ่งกว่าที่จะเป็นบรรยากาศแห่งความอึดอัด น่าเกรงกลัว และจะไม่มีการใช้ถ้อยคำอันไม่เหมาะสม ในเชิงดูถูกดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามบุคคลใด การพิจารณาคดีจะต้องตั้งจิตใจให้เป็นสมาธิ มีสติอยู่ด้วยหลักธรรม คือ พรหมวิหาร 4 และอคติ 4 บริสุทธิ์ ยุติธรรม พร้อมที่จะเผชิญถ้อยคำ การแสดงออกเรื่องราว และเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันตลอดเวลาด้วยความสุขุม คัมภีรภาพ การซักถามพยาน คู่ความ หรือบุคคลใดในระหว่างสืบพยาน ควรจะได้หารือกับผู้พิพากษาก่อนเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่รูปคดีของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งทำให้ต้องลงจากบัลลังก์ชั่วคราว ก็ขออนุญาตผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นหรือปรึกษากับผู้พิพากษาเพื่อขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน ผู้พิพากษาสมทบมีหน้าที่ต้องรักษาความลับของคดีนั้นไว้ ตามที่ได้ปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ไม่อาจวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวของคดีให้บุคคลอื่นใดทราบ ในระหว่างคดี ผู้พิพากษาสมทบพึงหลีกเลี่ยงการนัดหมายกับเด็กเยาวชน และผู้ปกครองของเด็กหรือเยาวชนนั้น เพื่อช่วยเหลือกันเป็นการส่วนตัวนอกศาล โดยไม่ใช้วิธีการของศาลหรือสถานพินิจตามกฎหมาย เพราะอาจนำมาซึ่งข้อครหา อันทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้พิพากษาสมทบได้ การพิจารณาคดี กรณีที่จำเลยรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดจริง เมื่อผู้พิพากษาได้สอบถามจำเลยเสร็จแล้ว ผู้พิพากษาจะให้ผู้พิพากษาสมทบทำการอบรม การอบรมเป็นศิลปะและพรสวรรค์ของผู้พิพากษาสมทบแต่ละบุคคล แต่หลักสำคัญคือ ต้องพูดอบรมด้วยวาจาที่สุภาพกับจำเลยหรือผู้ปกครองจำเลย แสดงความเมตตาต่อจำเลยโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพ อนาคต ที่จะให้จำเลยได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพ อบรมสั่งสอนและสงเคราะห์ เพื่อการสำนึกผิดและกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป ชี้สาเหตุการกระทำผิดและแนะข้อแก้ไขให้จำเลย ถ้าจำเลยประพฤติเสียหายเพราะผู้ปกครองมีส่วนผิดก็ควรชี้แนะให้ผู้ปกครองแก้ไขด้วย และควรให้ผู้ปกครองจำเลยได้แสดงความคิดเห็นที่จะป้องกันไม่ให้เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดอีก และสามารถรับรองกับศาลได้ว่าจะไม่ให้เด็กหรือเยาวชนนั้นการทำความผิดอีก การอบรมจำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนนั้น ควรใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายด้วยความเข้าใจและตระหนักถึงสภาพแวดล้อมของเด็กหรือเยาวชนนั้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นเด็กหรือเยาวชนที่มาจากครอบครัวที่ยากจนแร้นแค้น การศึกษาน้อย อาศัยอยู่สภาพแวดล้อมที่ไม่ดีตลอดมา ระหว่างการอบรม ไม่ควรพูดให้ความหวังแก่จำเลยในทำนองว่า ศาลจะรอการลงโทษหรือการกำหนดโทษให้จำเลย เพราะการพิพากษานั้นจะต้องมาจากเสียงข้างมากขององค์คณะ 4 ท่าน เมื่อปรึกษากันทั้งคณะแล้วถ้ากลับเอาตัวไว้ฝึกอบรมก็ทำให้เกิดความสับสนแก่จำเลย และเมื่อศาลตัดสินแล้วก็ไม่ควรมีการอบรมอีก แต่ไม่ห้ามที่ผู้พิพากษาสมทบจะอธิบายวิธีการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลให้จำเลยและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจ ในกรณีที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง ผู้พิพากษาสมทบไม่ต้องกระทำการอบรมใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะกฎหมายถือว่าจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ในกรณีศาลจะให้โจทก์นำพยานมาเบิกความเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย บทบาทของผู้พิพากษาสมทบระหว่างการสืบพยานนี้มีความสำคัญมาก ผู้พิพากษาสมทบจะต้องตั้งใจให้ฟังคำเบิกความของพยานฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทุกปากให้เข้าใจ และบันทึกความสำคัญของคำเบิกความของพยานแต่ละฝ่ายทุกปากไว้ เพื่อรอปรึกษาองค์คณะว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ผู้พิพากษาสมทบจะได้ให้ความเห็นได้โดยละเอียดถี่ถ้วนจากการฟังคำเบิกความระหว่าง สืบพยาน ถ้าจำเลยผิดตามฟ้อง ผู้พิพากษาจะปรับบทกฎหมายกำหนดทา หรือเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกและอบรมมีการกำหนดเวลามากน้อยตามองค์คณะจะเห็นสมควรร่วมกันตามเสียงข้างมาก การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมกันในข้อพิพาทนั้นโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเพื่อการนี้ให้ศาลคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ เพื่อประกอบดุลพินิจด้วยคือ 1. การสงวน และคุ้มครองสถานภาพของการสมรส หากไม่อาจรักษาสถานภาพของการสมรสไว้ได้ ก็ให้การอย่าเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงสถานภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ 2. การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ครอบครัวนั้นต้องรับผิดชอบในการดูแลให้การศึกษาแก่บุตรผู้เป็นผู้เยาว์ 3. การคุ้มครองสิทธิของบุตร และส่งเสริมสวัสดิภาพของบุตร 4. หามาตรการต่าง ๆเพื่อช่วยเหลือสามีภริยาให้ปรองดองกัน และปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันเองและบุตร การจะไกล่เกลี่ยคดีครอบครัวได้สำเร็จหรือไม่ น่าจะอยู่ที่ความเข้าใจถ่องแท้ในข้อมูลในความรู้จริงแท้จริงของคู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือร่วมใจกันของตัวทนายความ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสถานภาพในทางครอบครัวของผู้เยาว์ เช่น ร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ หรือขอให้พิพากษาเป็นบุตร เป็นต้น ก้ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สวัสดิภาพ และความสุขของผู้เยาว์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นสำคัญ การลงลายมือชื่อสำนวนความ เมื่อเสร็จการพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว ผู้พิพากษาสมทบต้องสนใจ ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาชื่ออันดับ 1 และอันดับ 2 เป็นผู้พิพากษา อันดับ 3 และอันดับ 4 เป็นของผู้พิพากษาสมทบ ซึ่งชื่อของท่านใดจะเป็นอันดับ 3 อันดับ 4 ให้ดูที่หน้าปกสำนวน และต้องอยู่รอคอยลงชื่อในคำพิพากษาให้เสร็จไปในวันพิจารณาคดีนั้น เพราะผู้พิพากษาจะต้องส่งสำนวนให้อธิบดีตรวจตามระเบียบในวันรุ่งขึ้น เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้พิมพ์ร่างคำพิพากษา จากนั้นจะนำคำพิพากษาที่พิมพ์เสร็จแล้วมาวางไว้ที่โต๊ะในห้องผู้พิพากษาสมทบ เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบ จะต้องตรวจดูว่าคดีที่ตนเองได้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบลงนาม 2 แห่ง ในคราวเดียวกัน ที่ต้นฉบับ 1 แห่ง และที่สำเนาอีก 1 แห่ง ในแต่ละวันที่ผู้พิพากษาสมทบได้รับเชิญมาศาลเพื่อเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นผู้พิพากษาสมทบจะต้องอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยลงนามรายงานกระบวนการพิจารณาคดีและคำพิพากษาโดยครบถ้วนทุกคดีแล้วผู้พิพากษาสมทบจึงจะกลับได้ เนื่องจากการทำสำนวนก็ดี การสั่งฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง การจดบันทึกคำพยาน รวมตลอดทั้งการร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ดี เป็นภาระหน้าที่ของผู้มีความรู้ทางกฎหมายโดยเฉพาะ และเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษานายเดียวกระทำได้อยู่แล้ว ผู้พิพากษาสมทบเพียงแต่ร่วมเป็นองค์คณะกับผู้พิพากษารับทราบสำนวนคดีและรายงานของสถานพินิจ และออกนั่งพิจารณาเพื่อฟังการพิจารณา ซักถาม ไกล่เกลี่ย เปรียบเทียบ อบรมร่วมกับผู้พิพากษา และออกความเห็น พร้อมทั้งลงนามในรายงานกระบวนการพิจารณา สัญญาประนีประนอมยอมความ คำพิพากษาและคำสั่งที่ตัดสินชี้ขาดคดีเท่านั้น ดังนั้น การดำเนินการซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่ผู้พิพากษากระทำไปได้โดยลำพังดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งการจดบันทึกข้อหรือขีดเขียนอย่างใดลงในสำนวนผู้พิพากษาสมทบจึงไม่ต้องกระทำ

ม.26 ผู้พิพากษาสมทบจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการ หรือเรียกย่อว่า ก.ต.

ม.26 ผู้พิพากษาสมทบจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการ หรือเรียกย่อว่า ก.ต.คัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องมีคุณสมบัติ
(1) มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปีบริบูรณ์
(2) มีหรือเคยมีบุตรมาแล้ว หรือเคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หรือการกอบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
(3) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
(4) มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการธุรการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่า ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
(5) ไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา หรือทนายความ
(6) มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

ผู้พิพากษาสมทบ ดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
ผู้พิพากษาสมทบ เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตาม ประมวลกฎหมายอาญา

ผู้พิพากษาสมทบในแต่ละศาล

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539-------ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539เป็นปีที่ 51 ในรัชกาลปัจจุบันมาตรา 14 ผู้พิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศมาตรา 15 ผู้พิพากษาสมทบจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศซึ่งคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องมีคุณสมบัติตาม (1) ถึง (4) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (5) ถึง (9) ดังต่อไปนี้(1) มีสัญชาติไทย(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์(3) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(4) มีความรู้ความชำนาญทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศ(5) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี(6) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว(7) เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นเป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(8) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้พิพากษาสมทบหรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง(9) เป็นข้าราชการการเมือง กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง สมาชิกรัฐสภา ผู้บริหารหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจหรือทนายความผู้พิพากษาสมทบให้ดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกก็ได้ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาสมทบต้องปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ว่าจะปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมและรักษาความลับในราชการมาตรา 16 ผู้พิพากษาสมทบพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(1) ออกตามวาระ(2) ตาย(3) ลาออก(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 15(5) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดถึงสามครั้งติดต่อกันโดยไม่เหตุอันสมควร(6) ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การเป็นผู้พิพากษาสมทบการพ้นจากตำแหน่งตาม (2) หรือ (3) ให้นำความกราบบังคมเพื่อทรงทราบ ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (4) (5) หรือ (6) ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย ตุลาการ และให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พ้นตำแหน่งมาตรา 17 ในกรณีที่ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระตามมาตรา 16 (1) จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการคัดเลือกขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ เว้นแต่วาระของผู้พิพากษาสมทบเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งบุคคลแทนก็ได้ให้ผู้พิพากษาสมทบซึ่งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนดำรงตำแหน่งแทนมาตรา 18 ในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบขึ้นใหม่ หรือมีการแต่งตั้งแล้วแต่ยังไม่ได้เข้ารับหน้าที่ ให้ผู้พิพากษาสมทบซึ่งออกไปตามวาระคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน และให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ตนได้นั่งพิจารณาไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จคดีนั้น แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันครบกำหนดออกตามวาระมาตรา 19 ภายใต้บังคับมาตรา 20 และมาตรา 21 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคนและผู้พิพากษาสมทบอีกหนึ่งคนจึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ ส่วนการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นจะต้องบังคับตามเสียงฝ่ายข้างมากมาตรา 20 ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศคนใดคนหนึ่งมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือออกคำสั่งใด ๆ นอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีได้มาตรา 21 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นเป็นการสมควร จะให้ศาลอื่นหรือเจ้าพนักงานศาลทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งแทนได้ การสืบพยานหลักฐานดังกล่าวจะกระทำในศาลหรือนอกศาลก็ได้ในกรณีที่การสืบพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งเป็นการสืบพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ในดคีอาญาจะกระทำลับหลังจำเลยไม่ได้ ทั้งจะต้องให้จำเลยมีโอกาสถามค้านพยานบุคคลหรือคัดค้านพยานหลักฐานอื่นได้อย่างเต็มที่ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่อาจสืบพยานหลักฐานลับหลังจำเลยได้ตามมาตรา 172 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญามาตรา 22 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค แล้วแต่กรณี หรือผู้ทำการแทนในตำแหน่งดังกล่าว กำหนดเวรปฏิบัติการของผู้พิพากษาสมทบซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบซึ่งนั่งพิจารณาคดีใดจะต้องพิจารณาคดีนั้นจนเสร็จเว้นแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจัดให้ผู้พิพากษาสมทบคนอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนผู้พิพากษาสมทบจะได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกามาตรา 23 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การคัดค้านผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลมมาตรา 24 ผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 25 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการมาใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลม-----------------------------------------------------รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผลการเสนอกฎหมายฉบับนี้ด้วยพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับมานานกว่า ๒๕ ปี ในกรณีการได้มาซึ่งผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างให้ใช้วิธีลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยสมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานที่ได้จดทะเบียนในเขตพื้นที่ที่ศาล แรงงานตั้งอยู่ทำให้มีผู้ไปขอจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้เปรียบในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้พิพากษาสมทบ ทำให้หลายครั้งได้ผู้พิพากษาสมทบไม่ได้เป็นสมาชิกหรือเกี่ยวข้องกับสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานเลย และในบางครั้งได้ผู้พิพากษาสมทบที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือต่อองค์กรพิจารณาอรรถคดี ดังนั้นจึงสมควรให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยให้นายจ้าง รัฐวิสาหกิจ หรือสหภาพแรงงาน เสนอรายชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นผู้พิพากษาสมทบ โดยให้เสนอต่อคณะกรรมการตุลาการ (ต.ก.) เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง------------------------------------ศาลแรงงานและการดำเนินคดีในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522--------------------------------------------------------------------พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2534เป็นปีที่ 46 ในรัชกาลปัจจุบันหมวด 2ศาลเยาวชนและครอบครัว________________________________________มาตรา 8 ให้จัดตั้ง(1) ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขึ้นในกรุงเทพมหานคร และให้มีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานคร(2) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลาขึ้นในจังหวัดสงขลา และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดสงขลา(3) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาขึ้นในจังหวัดนครราชสีมาและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดนครราชสีมา(4) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดเชียงใหม่(5) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานีและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดอุบลราชธานี(6) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยองขึ้นในจังหวัดระยอง และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดระยอง(7) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดสุราษฎร์ธานี(8) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดนครสวรรค์(9) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นขึ้นในจังหวัดขอนแก่นและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดขอนแก่นในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดที่ได้จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จัดตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดทุกศาลแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดใดจะเปิดทำการเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกาให้แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดมีเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลที่ตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวนั้น สำหรับจังหวัดที่มีศาลจังหวัดมากกว่าหนึ่งศาล ถ้าจะเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดเพียงบางศาล จะให้แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดที่เปิดทำการนั้นมีเขตอำนาจตลอดท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่ยังมิได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ระบุเขตอำนาจดังกล่าวไว้ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองด้วยให้ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 16 ในศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาลให้มีผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบตามจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดมาตรา 26 ผู้พิพากษาสมทบตามมาตรา 16 จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องมีคุณสมบัติดังนี้(1) มีอายุไม่น้อยกว่าสามสิบปีบริบูรณ์(2) มีหรือเคยมีบุตรมาแล้ว หรือเคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หรือการอบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี(3) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(4) มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการธุรการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ เว้นแต่ในเรื่องพื้นความรู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(5) ไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ(6) มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวผู้พิพากษาสมทบให้ดำรงตำแหน่งคราวละสามปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกก็ได้ ผู้พิพากษาสมทบที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระ ให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้พิพากษาสมทบคนใหม่จะเข้ารับหน้าที่ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผู้พิพากษาสมทบจะต้องปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ซึ่งตนจะเข้าสังกัด แล้วแต่กรณีว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมและรักษาความลับในราชการมาตรา 27 ผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 28 ผู้พิพากษาสมทบพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(1) ออกตามวาระ(2) ตาย(3) ลาออก(4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 26(5) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามเวรปฏิบัติการที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือกระทำการใด ๆ ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการตุลาการแล้วจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการการพ้นจากตำแหน่งตาม (2) หรือ (3) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (4) หรือ (5) ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการและให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งมาตรา 29 ในกรณีที่ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระตามมาตรา 28 (1) จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งบุคคลที่คณะกรรมการตุลาการคัดเลือกขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ ให้ผู้พิพากษาสมทบซึ่งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนดำรงตำแหน่งแทนมาตรา 30 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แล้วแต่กรณี กำหนดเวรปฏิบัติการของผู้พิพากษาสมทบซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบที่นั่งพิจารณาคดีใด จะต้องพิจารณาคดีนั้นจนเสร็จเว้นแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้พิพากษาสมทบจะได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกามาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการมาใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลมบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี• ผู้พิพากษา มี 2 ประเภท คือ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 16• พนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด และต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 66• จำเลย กรณีถ้าไม่รับการประกันตัวจะถูกควบคุมอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน• ที่ปรึกษากฎหมาย จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้มีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 83