วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

ผู้พิพากษาสมทบในแต่ละศาล

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539-------ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539เป็นปีที่ 51 ในรัชกาลปัจจุบันมาตรา 14 ผู้พิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศมาตรา 15 ผู้พิพากษาสมทบจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศซึ่งคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องมีคุณสมบัติตาม (1) ถึง (4) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (5) ถึง (9) ดังต่อไปนี้(1) มีสัญชาติไทย(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์(3) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(4) มีความรู้ความชำนาญทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศ(5) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี(6) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว(7) เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นเป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(8) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้พิพากษาสมทบหรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง(9) เป็นข้าราชการการเมือง กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง สมาชิกรัฐสภา ผู้บริหารหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจหรือทนายความผู้พิพากษาสมทบให้ดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกก็ได้ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาสมทบต้องปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ว่าจะปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมและรักษาความลับในราชการมาตรา 16 ผู้พิพากษาสมทบพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(1) ออกตามวาระ(2) ตาย(3) ลาออก(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 15(5) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดถึงสามครั้งติดต่อกันโดยไม่เหตุอันสมควร(6) ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การเป็นผู้พิพากษาสมทบการพ้นจากตำแหน่งตาม (2) หรือ (3) ให้นำความกราบบังคมเพื่อทรงทราบ ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (4) (5) หรือ (6) ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย ตุลาการ และให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พ้นตำแหน่งมาตรา 17 ในกรณีที่ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระตามมาตรา 16 (1) จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการคัดเลือกขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ เว้นแต่วาระของผู้พิพากษาสมทบเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งบุคคลแทนก็ได้ให้ผู้พิพากษาสมทบซึ่งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนดำรงตำแหน่งแทนมาตรา 18 ในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบขึ้นใหม่ หรือมีการแต่งตั้งแล้วแต่ยังไม่ได้เข้ารับหน้าที่ ให้ผู้พิพากษาสมทบซึ่งออกไปตามวาระคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน และให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ตนได้นั่งพิจารณาไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จคดีนั้น แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันครบกำหนดออกตามวาระมาตรา 19 ภายใต้บังคับมาตรา 20 และมาตรา 21 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคนและผู้พิพากษาสมทบอีกหนึ่งคนจึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ ส่วนการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นจะต้องบังคับตามเสียงฝ่ายข้างมากมาตรา 20 ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศคนใดคนหนึ่งมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือออกคำสั่งใด ๆ นอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีได้มาตรา 21 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นเป็นการสมควร จะให้ศาลอื่นหรือเจ้าพนักงานศาลทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งแทนได้ การสืบพยานหลักฐานดังกล่าวจะกระทำในศาลหรือนอกศาลก็ได้ในกรณีที่การสืบพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งเป็นการสืบพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ในดคีอาญาจะกระทำลับหลังจำเลยไม่ได้ ทั้งจะต้องให้จำเลยมีโอกาสถามค้านพยานบุคคลหรือคัดค้านพยานหลักฐานอื่นได้อย่างเต็มที่ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่อาจสืบพยานหลักฐานลับหลังจำเลยได้ตามมาตรา 172 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญามาตรา 22 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค แล้วแต่กรณี หรือผู้ทำการแทนในตำแหน่งดังกล่าว กำหนดเวรปฏิบัติการของผู้พิพากษาสมทบซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบซึ่งนั่งพิจารณาคดีใดจะต้องพิจารณาคดีนั้นจนเสร็จเว้นแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจัดให้ผู้พิพากษาสมทบคนอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนผู้พิพากษาสมทบจะได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกามาตรา 23 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การคัดค้านผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลมมาตรา 24 ผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 25 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการมาใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลม-----------------------------------------------------รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผลการเสนอกฎหมายฉบับนี้ด้วยพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับมานานกว่า ๒๕ ปี ในกรณีการได้มาซึ่งผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างให้ใช้วิธีลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยสมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานที่ได้จดทะเบียนในเขตพื้นที่ที่ศาล แรงงานตั้งอยู่ทำให้มีผู้ไปขอจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้เปรียบในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้พิพากษาสมทบ ทำให้หลายครั้งได้ผู้พิพากษาสมทบไม่ได้เป็นสมาชิกหรือเกี่ยวข้องกับสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานเลย และในบางครั้งได้ผู้พิพากษาสมทบที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือต่อองค์กรพิจารณาอรรถคดี ดังนั้นจึงสมควรให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยให้นายจ้าง รัฐวิสาหกิจ หรือสหภาพแรงงาน เสนอรายชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นผู้พิพากษาสมทบ โดยให้เสนอต่อคณะกรรมการตุลาการ (ต.ก.) เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง------------------------------------ศาลแรงงานและการดำเนินคดีในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522--------------------------------------------------------------------พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2534เป็นปีที่ 46 ในรัชกาลปัจจุบันหมวด 2ศาลเยาวชนและครอบครัว________________________________________มาตรา 8 ให้จัดตั้ง(1) ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขึ้นในกรุงเทพมหานคร และให้มีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานคร(2) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลาขึ้นในจังหวัดสงขลา และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดสงขลา(3) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาขึ้นในจังหวัดนครราชสีมาและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดนครราชสีมา(4) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดเชียงใหม่(5) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานีและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดอุบลราชธานี(6) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยองขึ้นในจังหวัดระยอง และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดระยอง(7) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดสุราษฎร์ธานี(8) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดนครสวรรค์(9) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นขึ้นในจังหวัดขอนแก่นและให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดขอนแก่นในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดที่ได้จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จัดตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดทุกศาลแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดใดจะเปิดทำการเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกาให้แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดมีเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลที่ตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวนั้น สำหรับจังหวัดที่มีศาลจังหวัดมากกว่าหนึ่งศาล ถ้าจะเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดเพียงบางศาล จะให้แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดที่เปิดทำการนั้นมีเขตอำนาจตลอดท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่ยังมิได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ระบุเขตอำนาจดังกล่าวไว้ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองด้วยให้ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 16 ในศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาลให้มีผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบตามจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดมาตรา 26 ผู้พิพากษาสมทบตามมาตรา 16 จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องมีคุณสมบัติดังนี้(1) มีอายุไม่น้อยกว่าสามสิบปีบริบูรณ์(2) มีหรือเคยมีบุตรมาแล้ว หรือเคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หรือการอบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี(3) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(4) มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการธุรการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ เว้นแต่ในเรื่องพื้นความรู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(5) ไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ(6) มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวผู้พิพากษาสมทบให้ดำรงตำแหน่งคราวละสามปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกก็ได้ ผู้พิพากษาสมทบที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระ ให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้พิพากษาสมทบคนใหม่จะเข้ารับหน้าที่ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผู้พิพากษาสมทบจะต้องปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ซึ่งตนจะเข้าสังกัด แล้วแต่กรณีว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมและรักษาความลับในราชการมาตรา 27 ผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 28 ผู้พิพากษาสมทบพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(1) ออกตามวาระ(2) ตาย(3) ลาออก(4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 26(5) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามเวรปฏิบัติการที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือกระทำการใด ๆ ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการตุลาการแล้วจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการการพ้นจากตำแหน่งตาม (2) หรือ (3) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (4) หรือ (5) ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการและให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งมาตรา 29 ในกรณีที่ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระตามมาตรา 28 (1) จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งบุคคลที่คณะกรรมการตุลาการคัดเลือกขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ ให้ผู้พิพากษาสมทบซึ่งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนดำรงตำแหน่งแทนมาตรา 30 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แล้วแต่กรณี กำหนดเวรปฏิบัติการของผู้พิพากษาสมทบซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบที่นั่งพิจารณาคดีใด จะต้องพิจารณาคดีนั้นจนเสร็จเว้นแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้พิพากษาสมทบจะได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกามาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการมาใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลมบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี• ผู้พิพากษา มี 2 ประเภท คือ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 16• พนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด และต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 66• จำเลย กรณีถ้าไม่รับการประกันตัวจะถูกควบคุมอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน• ที่ปรึกษากฎหมาย จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้มีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 83

ไม่มีความคิดเห็น: